พ.ศ. 2558
หน้าตา
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2558 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 2015 MMXV |
Ab urbe condita | 2768 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1464 ԹՎ ՌՆԿԴ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6765 |
ปฏิทินบาไฮ | 171–172 |
ปฏิทินเบงกอล | 1422 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2965 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 63 Eliz. 2 – 64 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2559 |
ปฏิทินพม่า | 1377 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7523–7524 |
ปฏิทินจีน | 甲午年 (มะเมียธาตุไม้) 4711 หรือ 4651 — ถึง — 乙未年 (มะแมธาตุไม้) 4712 หรือ 4652 |
ปฏิทินคอปติก | 1731–1732 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3181 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 2007–2008 |
ปฏิทินฮีบรู | 5775–5776 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2071–2072 |
- ศกสมวัต | 1937–1938 |
- กลียุค | 5116–5117 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 12015 |
ปฏิทินอิกโบ | 1015–1016 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1393–1394 |
ปฏิทินอิสลาม | 1436–1437 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเฮเซ 27 (平成27年) |
ปฏิทินจูเช | 104 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4348 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 104 民國104年 |
เวลายูนิกซ์ | 1420070400–1451606399 |
พุทธศักราช 2558 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2015 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน นับเป็นปีที่ 2015 ตามกำหนดสากลศักราช
- ปีมะแม สัปตศก จุลศักราช 1377 (วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
- เป็นปีที่ 15 แห่งคริสต์สหัสวรรษที่ 3 หรือปีที่ 15 แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 21 หรือปีที่ 5 แห่งคริสต์ทศวรรษ 2010
สมัยประชุมที่หกสิบแปดแห่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติกำหนดให้ปีนี้เป็นปีแห่งแสงสากลและปีแห่งดินสากล[1]
ผู้นำประเทศไทย
- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี: พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (24 สิงหาคม พ.ศ. 2557–22 สิงหาคม พ.ศ. 2566)
เหตุการณ์
มกราคม
- 1 มกราคม
- ประเทศลิทัวเนียเปลี่ยนมาใช้เงินสกุลยูโรอย่างเป็นทางการ และเป็นสมาชิกยูโรโซนประเทศที่ 19[2]
- สนธิสัญญาก่อตั้งสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชียมีผลใช้บังคับ[3] ระหว่างประเทศรัสเซีย เบลารุส อาร์มีเนีย คาซัคสถาน และคีร์กีซสถาน
- 7 มกราคม – กลุ่มผู้ก่อการร้ายอิสลามบุกยิงสำนักงานนิตยสารล้อเลียน ชาร์ลีแอบโด ในกรุงปารีส มีผู้เสียชีวิต 12 ราย [4]
กุมภาพันธ์
- 12 กุมภาพันธ์
- ผู้นำจากประเทศรัสเซีย ยูเครน เยอรมนีและฝรั่งเศสบรรลุความตกลงเรื่องความขัดแย้งในทางตะวันออกของยูเครนซึ่งรวมการหยุดยิงและการถอนอาวุธหนัก[5]
- คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประกาศใช้ข้อมติที่ 2199 เพื่อต่อสู้กับขบวนการก่อการร้าย[6]
- 16 กุมภาพันธ์ – กองทัพอียิปต์ปฏิบัติการจู่โจมทางอากาศต่อกองกำลังของรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ISIL) ในประเทศลิเบีย เพื่อตอบโต้ที่กลุ่ม ISIL ตัดศีรษะชาวคริสต์เชื้อสายอียิปต์จำนวนมาก โดยวีดิโอบันทึกภาพการตัดศีรษะถูกเผยแพร่ออกมาภายในเดือนเดียวกันนี้[7][8]
มีนาคม
- 6 มีนาคม – ยานดอว์นของนาซา ลงจอดที่ดาวเคราะห์แคระเซเรส และกลายเป็นยานอวกาศลำแรกที่ไปถึงดาวเคราะห์แคระ[9][10]
- 24 มีนาคม – เครื่องบินแอร์บัส เอ320-211 ของสายการบินเยอรมันวิงส์ตกบริเวณเทือกเขาแอลป์ ในประเทศฝรั่งเศส ผู้โดยสารบนเครื่องบินเสียชีวิตทั้งหมด[11]
- 25 มีนาคม – แนวร่วมประเทศอาหรับที่มีซาอุดีอาระเบียเป็นผู้นำเริ่มการแทรกแซงทางทหารในประเทศเยเมนเพื่อค้ำจุนรัฐบาลเยเมนในการสู้รบในการรุกทิศใต้ของฮูธี[12][13]
เมษายน
- 2 เมษายน
- กลุ่มก่อการร้ายเข้าโจมตีมหาวิทยาลัยในประเทศเคนยา มีผู้เสียชีวิต 152 คน[14]
- 25 เมษายน – เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในประเทศเนปาล ขนาด 7.8 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 8,900 คน[15][16]
- 29 เมษายน – องค์การอนามัยโลกประกาศว่า ทวีปอเมริกาปลอดโรคหัดเยอรมันแล้ว[17]
พฤษภาคม
- 1 พฤษภาคม – 31 ตุลาคม - เอกซ์โป 2015 จัดในมิลาน ประเทศอิตาลี[18]
- 12 พฤษภาคม – เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ครั้งที่สองในประเทศเนปาล วัดขนาดได้ 7.3 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 8,857 คนในประเทศเนปาล, 130 คนในประเทศอินเดีย[19] 27 คนในประเทศจีน[20] และ 4 คนในประเทศบังกลาเทศ[20] รวมมีผู้เสียชีวิต 9,018 คน
- 23 พฤษภาคม – สาธารณรัฐไอร์แลนด์ออกเสียงให้การสมรสเพศเดียวกันถูกกฎหมาย กลายเป็นประเทศแรกที่ทำให้การสมรสเพศเดียวกันถูกกฎหมายโดยการออกเสียงลงคะแนนของประชาชน[21]
มิถุนายน
- 2 มิถุนายน – เซพพ์ บลัทเทอร์ ประธานฟีฟ่า ลาออกท่ามกลางการสืบสวนเกี่ยวกับการทุจริตของเอฟบีไอ และเรียกร้องให้สภาคองเกรสวิสามัญเลือกตั้งประธานคนใหม่โดยเร็วที่สุด[22]
- 30 มิถุนายน – ประเทศคิวบาเป็นประเทศแรกในโลกที่สามารถกำจัดการส่งผ่านเอชไอวีและซิฟิลิสจากแม่สู่ลูก[23]
กรกฎาคม
- 1 กรกฎาคม - วิกฤตหนี้สาธารณะกรีซ: ประเทศกรีซเป็นประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าประเทศแรกที่ผิดนัดชำระหนี้ต่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศในประวัติศาสตร์ 71 ปี[24]
- 14 กรกฎาคม –
- ยานนิวฮอไรซันส์ของนาซาสำเร็จการบินผ่านใกล้ดาวพลูโต กลายเป็นยานอวกาศลำแรกที่เดินทางไปถึงอาณาเขตอันห่างไกลสำเร็จ[25] นิวฮอไรซันส์จะสำรวจพื้นที่บริเวณนั้น 5 เดือน ก่อนเข้าสู่แถบไคเปอร์และสุดท้ายจะออกนอกระบบสุริยะ
- ประเทศอิหร่านตกลงจำกัดโครงการนิวเคลียร์ระยะยาวแลกเปลี่ยนกับการผ่อนปรนการลงโทษ[26]
- 20 กรกฎาคม - คิวบาและสหรัฐอเมริกาฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตใหม่หลังความเป็นปรปักษ์นาน 54 ปี[27]
สิงหาคม
- 5 สิงหาคม – ชิ้นส่วนที่พบบนเกาะเรอูนียง ถูกชี้ชัดแล้วว่าเป็นชิ้นส่วนของมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370 ซึ่งหายไปตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2557[28]
- 12 สิงหาคม – เกิดระเบิดขึ้นสองครั้งภายใน 30 วินาทีที่สถานีเก็บตู้คอนเทนเนอร์ในท่าเรือเทียนจิน นครเทียนจิน ประเทศจีน มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 116 คน[29]
- 17 สิงหาคม – เกิดเหตุระเบิดบริเวณสี่แยกราชประสงค์ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีผู้เสียชีวิต 20 คน[30]
กันยายน
- 10 กันยายน – นักวิทยาศาสตร์ประกาศการค้นพบ Homo naledi ซึ่งเคยเป็นมนุษย์ยุคแรกไม่ทราบสายพันธุ์ในประเทศแอฟริกาใต้[31]
- 16 กันยายน – เกิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกชายฝั่งประเทศชิลี ขนาด 8.3 ทำให้เกิดคลื่นสึนามิ มีผู้เสียชีวิต 14 คน
- 24 กันยายน – เกิดเหตุเหยียบกันตายระหว่างพิธีฮัจญ์ ณ มักกะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 2,200 คน และบาดเจ็บอีกจำนวนมาก
- 28 กันยายน – นาซาประกาศการค้นพบน้ำในสถานะของเหลวบนดาวอังคาร[32]
ตุลาคม
- 3 ตุลาคม – กองทัพสหรัฐอเมริกาปฏิบัติการโจมตีทางอากาศลงบนโรงพยาบาลขององค์การแพทย์ไร้พรมแดนในประเทศอัฟกานิสถาน เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิตโดยอุบัติเหตุประมาณ 20 ราย[33]
- 10 ตุลาคม – เกิดระเบิดฆ่าตัวตายในกรุงอังการา โดยผู้ก่อเหตุ 2 รายไม่ทราบฝ่ายส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 102 ราย บาดเจ็บสาหัส 48 ราย
- 26 ตุลาคม – เกิดแผ่นดินไหวในประเทศอัฟกานิสถานขนาด 7.5 บริเวณภูมิภาคฮินดู คุช ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 350 คน[34]
- 31 ตุลาคม – เมโทรเจ็ต เที่ยวบินที่ 9268 บินจากเมืองชาร์ม เอล-ชีค ประเทศอียิปต์สู่นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย ตกในบริเวณทางเหนือของคาบสมุทรไซนาย ส่งผลให้ผู้โดยสารบนเครื่อง 224 คนเสียชีวิตทั้งหมด[35]
พฤศจิกายน
- 7 พฤศจิกายน – ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน และประธานาธิบดีหม่า อิงจิ่วของไต้หวัน พบกันในฐานะผู้นำสูงสุดครั้งแรกในรอบเกือบ 70 ปี หรือนับตั้งแต่การเข้าสู่สงครามกลางเมืองระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนและพรรคก๊กมินตั๋ง ในการประชุมที่จัดขึ้นในประเทศสิงคโปร์ [36]
- 13 พฤศจิกายน – เกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส บริเวณโรงละครบาตาคล็อตและพื้นที่อื่น มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 130 คน[37]
- 24 พฤศจิกายน – กองทัพอากาศตุรกียิงเครื่องบินทิ้งระเบิดซุคฮอย ซู-24เอ็ม ของรัสเซียตกใกล้ชายแดนซีเรีย–ตุรกี [38]
ธันวาคม
- 12 ธันวาคม – ความตกลงเรื่องการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยการจัดทำมาตรการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้รับความเห็นชอบเป็นครั้งแรก ในการประชุม COP 21 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส[39]
- 22 ธันวาคม – บริษัทสเปซเอ็กซ์ประสบความสำเร็จในการนำจรวจฟอลคอน 9 ซึ่งเป็นจรวดที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ ขึ้นสู่วงโคจรโลกและนำกลับมาจอดตั้งตรงบนพื้นโลกเป็นครั้งแรก[40]
วันเกิด
- 2 พฤษภาคม – เจ้าหญิงชาร์ลอตต์แห่งเคมบริดจ์
- 15 มิถุนายน – เจ้าชายนีโคลัส ดยุกแห่งโอเงร์มันลันด์
- 1 มีนาคม - กันตพัฒน์ ตันติพณิชย์กุล
วันถึงแก่กรรม
มกราคม
- 1 มกราคม
- มาริโอ โควโม นักการเมืองชาวอเมริกัน, ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กคนที่ 52 (เกิด 15 มิถุนายน พ.ศ. 2475)
- เจ้าระวีพันธุ์ สุจริตกุล เจ้านายฝ่ายเหนือ (เกิด พ.ศ. 2471)
- 5 มกราคม – เคน เฮล นักฟุตบอลชาวอังกฤษ (เกิด 18 กันยายน พ.ศ. 2482)
- 9 มกราคม
- ยูแซฟ ออแล็กซือ นายกรัฐมนตรีแห่งโปแลนด์ (เกิด 22 มิถุนายน พ.ศ. 2489)
- อันเจโล อันกวิลเลตตี นักฟุตบอลชาวอิตาลี (เกิด 9 มกราคม พ.ศ. 2486)
- 19 มกราคม – พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก ทหารและสมาชิกวุฒิสภา (เกิด 31 สิงหาคม พ.ศ. 2468)
- 23 มกราคม – สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอห์ บิน อับดัลอะซิซ อาล สะอูด พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย (พระราชสมภพ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2467)
กุมภาพันธ์
- 1 กุมภาพันธ์ – อูโด ลาเทค ผู้จัดการทีมและนักฟุตบอลชาวเยอรมัน (เกิด 16 มกราคม พ.ศ. 2478)
- 14 กุมภาพันธ์ – มิเกเล เฟอร์เรโร นักธุรกิจชาวอิตาลี (เกิด 26 เมษายน พ.ศ. 2468)
- 16 กุมภาพันธ์ – เลสลีย์ กอร์ นักร้องชาวอเมริกัน (เกิด 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2489)
- 27 กุมภาพันธ์ – บอริส เนมต์ซอฟ นักการเมืองชาวรัสเซีย (เกิด 9 ตุลาคม พ.ศ. 2502)
- 28 กุมภาพันธ์ – พรไพร เพชรดำเนิน นักร้องชาวไทย (เกิด 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491)
มีนาคม
- 9 มีนาคม – ไฟร ออทโท สถาปนิกชาวเยอรมัน (เกิด 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2468)
- 12 มีนาคม – ไมเคิล เกรฟส์ สถาปนิกชาวอเมริกัน (เกิด 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2477)
- 16 มีนาคม – เลสลีย์ กอร์ นักร้องชาวอเมริกัน (เกิด 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2482)
- 21 มีนาคม – เปอร์โร อกัวโย่ จูเนียร์ นักมวยปล้ำชาวแม็กซิโก (เกิด 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2522)
- 23 มีนาคม – ลี กวน ยู นักการเมืองชาวสิงคโปร์ (เกิด 16 กันยายน พ.ศ. 2466)
- 26 มีนาคม – ทูมัส ทรานสเตรอเมอร์ กวีชาวสวีเดน (เกิด 15 เมษายน พ.ศ. 2474)
เมษายน
- 3 เมษายน – จำนงค์ โพธิสาโร นักการเมืองชาวไทย (เกิด 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467)
- 13 เมษายน – กึนเทอร์ กรัสส์ นักเขียนชาวเยอรมัน (เกิด 16 ตุลาคม พ.ศ. 2470)
- 15 เมษายน – เนื่อง แฝงสีคำ ศิลปินชาวไทย (เกิด 8 กันยายน พ.ศ. 2457)
- 16 เมษายน – อรรถพล ปุษปาคม นักฟุตบอลและผู้จัดการทีมชาวไทย (เกิด 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505)
- 29 เมษายน – ตุ่น จินตะเวช นักการเมืองชาวไทย (เกิด 29 สิงหาคม พ.ศ. 2488)
- 30 เมษายน
- เบน อี. คิง นักร้องชาวอเมริกัน (เกิด 28 กันยายน พ.ศ. 2481)
- มนัสนิตย์ วณิกกุล อดีตราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ (เกิด 30 เมษายน พ.ศ. 2471)
พฤษภาคม
- 6 พฤษภาคม – หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ (ประสูติ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2459)
- 7 พฤษภาคม – มอริซ แฟลนากัน ผู้ก่อตั้งเอมิเรตส์แอร์ไลน์ (เกิด 17 ตุลาคม พ.ศ. 2471)
- 8 พฤษภาคม – เลฟ ลาร์เซิน นักการเมืองชาวนอร์เวย์ (เกิด 27 มกราคม พ.ศ. 2497)
- 12 พฤษภาคม – พระญาณสิทธาจารย์ (วิ.) พระสงฆ์ชาวไทย (เกิด 24 มีนาคม พ.ศ. 2475)
- 14 พฤษภาคม
- จำรัส เขมะจารุ องคมนตรีชาวไทย (เกิด 11 สิงหาคม พ.ศ. 2472)
- บี.บี. คิง นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน (เกิด 16 กันยายน พ.ศ. 2468)
- 16 พฤษภาคม – พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทโธ) พระสงฆ์ชาวไทย (เกิด 4 ตุลาคม พ.ศ. 2466)
- 18 พฤษภาคม – พระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ) พระสงฆ์ชาวไทย (เกิด 24 เมษายน พ.ศ. 2477)
- 21 พฤษภาคม – แอลัน วุดเวิร์ด นักฟุตบอลชาวอังกฤษ (เกิด 7 กันยายน พ.ศ. 2489)
- 23 พฤษภาคม – จอห์น แนช นักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน (เกิด 13 มิถุนายน พ.ศ. 2471)
- 27 พฤษภาคม – นีลส์ คริสตี นักอาชญาวิทยาชาวนอร์เวย์ (เกิด 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471)
- 30 พฤษภาคม – โบ ไบเดน นักการเมืองชาวอเมริกัน (เกิด 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512)
มิถุนายน
- 2 มิถุนายน – ฟืร์นังดู ดือ อาราอูฌู ประธานาธิบดีติมอร์-เลสเต (เกิด 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506)
- 4 มิถุนายน – ชลูด นิ่มเสมอ ศิลปินชาวไทย (เกิด 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2472)
- 7 มิถุนายน – คริสโตเฟอร์ ลี นักแสดงชาวบริติช (เกิด 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2465)
- 8 มิถุนายน – สมเด็จอัครมหาธรรมโพธิศาล เจีย ซีม นักการเมืองชาวกัมพูชา (เกิด 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475)
- 11 มิถุนายน – ดัสตี้ โรดส์ นักมวยปล้ำชาวอเมริกัน (เกิด 12 ตุลาคม พ.ศ. 2488)
- 30 มิถุนายน – เจ้าเดชา ณ ลำปาง เจ้าครองเมืองนครลำปาง (เกิด พ.ศ. 2471)
กรกฎาคม
- 5 กรกฎาคม – ปัญจะ เกสรทอง ประธานสภาผู้แทนราษฎร (เกิด 5 สิงหาคม พ.ศ. 2474)
- 7 กรกฎาคม
- สะเบต หลีเหร็ม นักการเมืองชาวไทย (เกิด 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2484)
- โฟนส์ ฟัน วิสเซิน นักฟุตบอลชาวดัตซ์ (เกิด 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2476)
- 10 กรกฎาคม – อุมัร อัชชะรีฟ นักแสดงชาวอียิปต์ (เกิด 10 เมษายน พ.ศ. 2475)
- 11 กรกฎาคม – ซะโตะรุ อิวะตะ นักธุรกิจและนักออกแบบเกมชาวญี่ปุ่น (เกิด 6 ธันวาคม พ.ศ. 2502)
- 13 กรกฎาคม – ฟิลิปป์ มิสเฟลเดอร์ นักการเมืองชาวเยอรมัน (เกิด 25 สิงหาคม พ.ศ. 2522)
- 17 กรกฎาคม – ฌูล บีย็องกี นักแข่งรถชาวฝรั่งเศส (เกิด 3 สิงหาคม พ.ศ. 2532)
- 27 กรกฎาคม – อับดุล กลาม นักวิทยาศาสตร์และประธานาธิบดีคนที่ 11 ของอินเดีย (เกิด 15 ตุลาคม พ.ศ. 2474)
- 28 กรกฎาคม – เดียโก บารีโซเน นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา (เกิด 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2532)
- 29 กรกฎาคม – ประชาธิป มุสิกพงศ์ นักดนตรีชาวไทย (เกิด 6 เมษายน พ.ศ. 2527)
- 30 กรกฎาคม – รอดดี้ ไพเพอร์ นักมวยปล้ำชาวแคนาดา (เกิด 17 เมษายน พ.ศ. 2497)
สิงหาคม
- 3 สิงหาคม – เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ ศิลปินชาวไทย (เกิด 28 มกราคม พ.ศ. 2469)
- 5 สิงหาคม – โทนี มิลลิงตัน นักฟุตบอลชาวเวลส์ (เกิด 5 มิถุนายน พ.ศ. 2486)
- 11 สิงหาคม – ฮารัลด์ นีลเซน นักฟุตบอลชาวเดนมาร์ก (เกิด 26 ตุลาคม พ.ศ. 2484)
- 12 สิงหาคม – ไพจิตร เอื้อทวีกุล นักการเมืองไทย (เกิด 4 กันยายน พ.ศ. 2477)
- 19 สิงหาคม – วรรณ ชันซื่อ ประธานรัฐสภา (เกิด 16 สิงหาคม พ.ศ. 2466)
- 22 สิงหาคม – เอียง ธิริทธ์ นักการเมืองชาวกัมพูชา (เกิด 10 มีนาคม พ.ศ. 2475)
กันยายน
- 5 กันยายน
- หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา นักเขียนชาวไทย (เกิด 14 ธันวาคม พ.ศ. 2467)
- เซะสึโกะ ฮะระ นักแสดงหญิงชาวญี่ปุ่น (เกิด 17 มิถุนายน พ.ศ. 2463)
- 10 กันยายน – เฉิด สุดารา นักแปรอักษรชาวไทย (เกิด 14 ธันวาคม พ.ศ. 2456)
- 17 กันยายน – เดตต์มาร์ คราเมอร์ นักฟุตบอลชาวเยอรมัน (เกิด 4 เมษายน พ.ศ. 2468)
- 18 กันยายน – ประภัสสร เสวิกุล ศิลปินชาวไทย (เกิด 22 เมษายน พ.ศ. 2491)
- 27 กันยายน – วรนาถ อภิจารี ทหารชาวไทย (เกิด 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2477)
ตุลาคม
- 4 ตุลาคม – วาทิน ปิ่นเฉลียว นักวาดการ์ตูนชาวไทย (เกิด 5 เมษายน พ.ศ. 2473)
- 23 ตุลาคม – พูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา นักการศึกษาชาวไทย (เกิด 12 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
พฤศจิกายน
- 7 พฤศจิกายน – สุริยัน สุจริตพลวงศ์ นักโหราศาสตร์ชาวไทย (เกิด 16 พฤศจิกายน)
- 10 พฤศจิกายน – เฮลมุท ชมิดท์ นักการเมืองชาวเยอรมัน (เกิด 23 ธันวาคม พ.ศ. 2461)
- 11 พฤศจิกายน – จรูญ ธรรมศิลป์ ผู้กำกับละครโทรทัศน์ชาวไทย
- 18 พฤศจิกายน – โจนาห์ โลมู นักรักบี้ชาวนิวซีแลนด์ (เกิด 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2518)
- 22 พฤศจิกายน
- คิม ย็อง-ซัม นักการเมืองเกาหลีใต้ (เกิด 20 ธันวาคม พ.ศ. 2470)
- มานพ ยาระณะ ศิลปินชาวไทย (เกิด 5 กันยายน พ.ศ. 2478)
ธันวาคม
- 1 ธันวาคม – สีหนุ่ม เชิญยิ้ม (บุญธรรม ฮวดกระโทก) นักแสดงตลกชาวไทย (เกิด 1 มีนาคม พ.ศ. 2499)
- 5 ธันวาคม – สิทธิ เศวตศิลา องคมนตรีและอดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย (เกิด 7 มกราคม พ.ศ. 2462)
- 13 ธันวาคม – เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน นักวิชาการชาวไอร์แลนด์ (เกิด 26 สิงหาคม พ.ศ. 2479)
- 28 ธันวาคม – เล็มมี นักดนตรีชาวอังกฤษ (เกิด 24 ธันวาคม พ.ศ. 2488)
- 31 ธันวาคม – นาตาลี โคล นักดนตรีชาวอเมริกา (เกิด 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493)
รางวัลโนเบล
- สาขาเคมี – โทมัส ลินดาห์ล, พอล มอดริช และ อะซิซ แซนคาร์[41]
- สาขาวรรณกรรม – สวิตลานา อาเลคซีแอวิช[42]
- สาขาสันติภาพ – กลุ่มสานเสวนาสี่ฝ่ายแห่งชาติตูนิเซีย[43]
- สาขาฟิสิกส์ – ทะกะอะกิ คะจิตะ และ อาร์เธอร์ บี. แมคโดนัลด์[44]
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – วิลเลียม ซี. แคมป์เบลล์, ซะโตะชิ โอมุระ และ ถู โยวโยว [45]
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – แอนกัส ดีตัน[46]
บันเทิงคดีที่อ้างถึงปีนี้
ภาพยนตร์
- เจาะเวลาหาอดีต ภาค 2 (พ.ศ. 2532)
- ผ่านรักสุดขอบฟ้า (พ.ศ. 2540)
- เดอะ ซิกซ์ เดย์ วันล่าคนเหล็กอหังการ (พ.ศ. 2543)
- สงครามโค่นพันธุ์อสูร 4: กำเนิดใหม่ราชินีแวมไพร์ (พ.ศ. 2555)
ละคร การ์ตูน ซีรีส์
- อีวานเกเลียน (พ.ศ. 2538-2539)
- ฟรินจ์ เลาะปมพิศวงโลก (พ.ศ. 2551-2556)
วิดีโอเกม
- ดูม (พ.ศ. 2536) บรรษัทห้วงอวกาศ-อวกาศสหภาพ (The Union Aerospace Corporation) ก่อตั้งในปีนี้[47]
- แบตเทิลฟิลด์ 3 (พ.ศ. 2554)
อ้างอิง
- ↑ "United Nations Observances". United Nations. สืบค้นเมื่อ January 12, 2015.
- ↑ Kropaitas, Zivile (2015-01-01). "Lithuania joins Baltic neighbours in euro club". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2015-01-01.
- ↑ "Договор о Евразийском экономическом союзе". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-01. สืบค้นเมื่อ 2021-08-18.
- ↑ [ชาลี เอปโด], ไม่เข็ด! สื่อแดนน้ำหอม “ชาร์ลี เอ็บโด” นำภาพการ์ตูน “ศาสดามูฮัมหมัด” ขึ้นปกหลังถูก “ถล่มยิง”
- ↑ "Ukraine crisis: Leaders agree peace roadmap". BBC. 12 February 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-14. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
- ↑ "Unanimously Adopting Resolution 2199 (2015), Security Council Condemns Trade with Al-Qaida Associated Groups, Threatens Further Targeted Sanctions". United Nations. 12 February 2015. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2559.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Egypt Launches Airstrike in Libya Against ISIS Branch". The New York Times. 16 February 2015. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2559.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Islamic State Video Shows Beheadings of Egyptian Christians in Libya". The New York Times. 15 February 2015. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2559.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "NASA Spacecraft Becomes First to Orbit a Dwarf Planet". NASA. 6 March 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-17. สืบค้นเมื่อ 6 March 2015.
- ↑ "Nasa's Dawn probe achieves orbit around Ceres". BBC. 6 March 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 6 March 2015.
- ↑ "Germanwings plane 4U 9525 crashes in French Alps - no survivors". BBC. 24 March 2015. สืบค้นเมื่อ 24 March 2015.
- ↑ "Saudi and Arab allies bomb Houthi positions in Yemen". Aljazeera. 26 March 2015.
- ↑ Almasy, Steve; Hanna, Jason (26 March 2015). "Saudi Arabia launches airstrikes in Yemen". CNN.
- ↑ http://www.nytimes.com/2015/04/04/world/africa/kenyan-students-describe-shabab-attack-on-garissa-university-college.html
- ↑ "Nepal earthquake: Hundreds die, many feared trapped". April 25, 2015. สืบค้นเมื่อ April 25, 2015.
- ↑ "Nepal Earthquake Triggers Everest Avalanche". U.S.News & World Report. U.S. News & World Report LP. 2015-04-25. สืบค้นเมื่อ 2015-04-25.
- ↑ "Rubella (German measles) eradicated from Americas". BBC. 29 April 2015. สืบค้นเมื่อ 29 April 2015.
- ↑ "Learn More About Expo Milano 2015". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-02. สืบค้นเมื่อ January 17, 2015.
- ↑ http://www.theguardian.com/world/2015/may/12/nepal-hit-by-second-huge-earthquake
- ↑ 20.0 20.1 http://www.theguardian.com/world/live/2015/apr/25/nepal-earthquake-nation-worst-tremor-80-years-kathmandu-live-updates
- ↑ "Ireland Votes to Approve Gay Marriage, Putting Country in Vanguard". The New York Times. 2015-05-23. สืบค้นเมื่อ 2015-05-23.
- ↑ "Sepp Blatter to resign as FIFA president amid corruption scandal". BBC Sport. 2015-02-06. สืบค้นเมื่อ 2015-02-06.
- ↑ "WHO validates elimination of mother-to-child transmission of HIV and syphilis in Cuba". WHO. 30 June 2015. สืบค้นเมื่อ 30 Aug 2015.
- ↑ "Payment failure pitches IMF into uncharted territory". Financial Times.
- ↑ "New Horizons: Nasa spacecraft speeds past Pluto". BBC. 14 July 2015. สืบค้นเมื่อ 14 July 2015.
- ↑ Gordon, Michael; Sanger, David (July 14, 2015). "Deal Reached on Iran Nuclear Program; Limits on Fuel Would Lessen With Time". New York Times. สืบค้นเมื่อ July 15, 2015.
- ↑ "Cuban flag flies in Washington as relations restored". BBC News. 2558-07-20. สืบค้นเมื่อ 2558-07-25.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "MH370 families question Malaysian evidence". CNBC. 6 August 2015. สืบค้นเมื่อ 6 August 2015.
- ↑ "Tianjin explosions: New fires burn at site". BBC. 21 August 2015.
- ↑ "Bomb toll revised: 20 dead, 125 injured". Security. Bangkok Post. 18 August 2015. สืบค้นเมื่อ 19 August 2015.
- ↑ Shreeve, Jamie (10 September 2015). "This Face Changes the Human Story. But How?". National Geographic News. สืบค้นเมื่อ 10 September 2015.
- ↑ "NASA News Conference: Evidence of Liquid Water on Today's Mars". NASA. 28 September 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-18. สืบค้นเมื่อ 2015-10-12.
- ↑ "MSF hospital: US condemned over 'horrific bombing' in Afghanistan". The Guardian. 3 October 2015. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Ben Brumfield, CNN (26 October 2015). "Deaths, damage reported in powerful Afghanistan quake". CNN. สืบค้นเมื่อ 26 October 2015.
- ↑ "Sinai plane crash: No survivors on Russian airliner KGL9268". BBC. 31 October 2015. สืบค้นเมื่อ 31 October 2015.
- ↑ Lee, Shu-hua; Chang, S.C. "President Ma to meet China's Xi in Singapore Saturday (update)". Central News Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-07. สืบค้นเมื่อ 4 November 2015.
- ↑ ลำดับเหตุการณ์โจมตีทั่วกรุงปารีส ฝรั่งเศส
- ↑ http://www.maxim.com/maxim-man/article/turkey-russia-warplane-ISIS-2015-11
- ↑ "COP21 climate change summit reaches deal in Paris". BBC. 12 December 2015. สืบค้นเมื่อ 12 December 2015.
- ↑ Zolfagharifard, Ellie (22 December 2015). "Elon Musk makes space travel history: Billionaire's SpaceX rocket blasts into orbit, launches 11 satellites then makes an amazing landing back on Earth". Daily Mail. สืบค้นเมื่อ 22 December 2015.
- ↑ The Nobel Prize in Chemistry 2015
- ↑ Svetlana Alexievich wins 2015 Nobel prize in literature
- ↑ The Nobel Peace Prize 2015 - Nobelprize.org
- ↑ Nobel prize for physics won by Takaaki Kajita and Arthur McDonald
- ↑ [1]
- ↑ The Prize in Economic Sciences 2015 - Nobelprize.org
- ↑ About. DoomRPG.com. Retrieved June 28, 2013.
แหล่งข้อมูลอื่น
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ 2015